ทวีปเอเชีย ของ คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555

ประเทศญี่ปุ่น

รัฐบาลญี่ปุ่น ต้องส่งเจ้าหน้าที่ช่วยกวาดหิมะตามบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ ในเมืองซูนัง จังหวัดนีงาตะ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดหิมะตกหนัก โดยมีหิมะสูง 3.40 เมตร เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 50 คน[10] ส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุ ขณะที่ผู้เสียชีวิตส่วนหนึ่งเกิดจากพลัดตกจากหลังคาเพราะขึ้นไปกวาดหิมะป้องกันหลังคาถล่ม แบ่งเป็นจังหวัดนีงาตะ 12 ราย จังหวัดฮกไกโด 10 ราย จังหวัดอาโอโมริ 9 ราย บาดเจ็บ 700 รายทางตะวันตกของประเทศ และเจ้าหน้าที่แสดงความกังวลอย่างมากต่อประชาชนทางตอนเหนือจำนวนมาก ที่ยังคงต้องอาศัยอยู่ในสถานพักพิงชั่วคราว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงและสึนามิเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้วมีรายงานว่าในบางพื้นที่ของจังหวัดนีงาตะมีหิมะปกคลุมสูงเกือบ 3.3 เมตร ผลกระทบที่ญี่ปุ่น

ส่วนทางการเผยว่าได้เตรียมพร้อมงบประมาณรับมือภัยพิบัติฉุกเฉินเพื่อใช้ในการเก็บกวาดหิมะ พร้อมเตือนประชาชนให้พร้อมรับมือหิมะตกหนักระลอกใหม่ และเรียกร้องให้ผู้ที่ออกไปเก็บกวาดหิมะ ทำงานเป็นกลุ่มและสวมใส่อุปกรณ์นิรภัยเพื่อป้องกันหิมะถล่มทับ

คำสั่งเตรียมพร้อมดังกล่าวมีออกมาหลังจากนักพยากรณ์อากาศเตือนว่าจะยังคงมีหิมะตกหนักในหลายจังหวัดตามแนวชายฝั่งทะเลของญี่ปุ่นต่อไปอีกหลายวัน

เป็นที่น่าสังเกตว่าภาวะหิมะตกหนักที่ญี่ปุ่น ชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นสถานการณ์คล้ายกับที่กำลังเกิดขึ้นในอีกซีกโลกหนึ่ง


ต่อมาวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ภาคเหนือของญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับหิมะตกหนักเพิ่มขึ้นในวันดังกล่าว ขณะที่สภาพอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาวยังคงทำให้เกิดความเดือดร้อนในหลายพื้นที่ของประเทศ และมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 83 คน ด้านนักพยากรณ์อากาศคาดว่า หิมะจะตกหนักมีความหนาถึง 60 เซนติเมตรในหลายพื้นที่ทางเหนือของเกาะฮกไกโดและทางเหนือของเกาะฮอนชูในช่วง 24 ชั่วโมง ขณะที่เมืองซุกายุ ในจังหวัดเอโอโมริ ซึ่งมีอุณหภูมิติดลบ 12.8 องศาเซลเซียสวันนี้ จะมีหิมะตกเพิ่มขึ้นถึง 4 เมตร[11]

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 สืบเนื่องจากนักศึกษาชาวญี่ปุ่นราว 60 คนมีอาการเป็นไข้หวัด เจ้าหน้าที่ของประเทศนิวซีแลนด์ได้ดำเนินการกักตัวผู้โดยสารทั้งหมด 274 คนไว้บนเครื่องบินราว 3ชั่วโมงและส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเบื้องต้นพบเป็นไข้หวัดตามฤดูกาลเท่านั้น[12]

ประเทศจีน

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555 มณฑลกว่างโจว ทางภาคใต้ของจีน เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสภาพอากาศที่หนาวจัด พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง เมืองและตำบล กว่า 100 แห่ง ต้องออกประกาศเตือนภัยจากสภาวะน้ำแข็งที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังมีฝนตกลงมาอีก ทำให้เกิดหมอกลงหนาจัด ส่งผลต่อทัศนวิสัยที่เลวร้าย ผู้ใช้รถต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวัง และทางการต้องระดมเจ้าหน้าที่ออกกวาดหิมะออกจากพื้นถนนขณะที่ มณฑลกวางตุ้งคาดว่าจะมีฝนตกอีกหลายวัน ท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเย็นจากอุณหภูมิที่ลดต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ในบริเวณทางหลวงที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงปักกิ่ง เกาะฮ่องกง และมาเก๊า[13]

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 หลายพื้นที่ทางภาคเหนือของจีน ต้องประสบกับอากาศที่หนาวเย็นจัดในรอบหลายสิบปี อุณหภูมิติดลบถึง 40 องศาเซลเซียส น้ำในแม่น้ำลำคลองจับตัวกันเป็นก้อนน้ำแข็ง ขณะที่ทางการมีคำเตือนว่า มวลอากาศระลอกใหม่กำลังจะแผ่ปกคลุมในช่วง 2 วันนี้ โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 6-8 องศาเซลเซียส ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก แต่ในบางพื้นที่ของเขตมองโกเลียใน และทางตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดต่ำลงได้ถึงลบ 14 องศาเซลเซียส ขณะที่ในเขตปกครองตนเองทิเบตมีรายงานว่า ฝูงปศุสัตว์พากันล้มตายไปแล้วกว่า 2,600 ตัว[14]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 น้ำตกหู้โขว์ในจีน แข็งตัวเนื่องจากอากาศที่หนาวจัด เนื่องจากอากาศหนาวอุณหภูมิลบ 17 องศา[15]

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมณฑลจี๋หลินมณฑลเจียงซีมณฑลอานฮุยในภาคตะวันตกเฉียงเหนือเผชิญกับหิมะตกหนักบางพื้นที่มีหิมะตกหนักถึง 200 มิลลิเมตรและมีหมอกลงจัด สภาพอากาศที่เหลวร้ายทำให้ต้องปิดทางด่วน ส่วนท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง มีเที่ยวบินยกเลิกจำนวน 138 เที่ยวบิน [16]

ประเทศไทย

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) 33 จังหวัด 423 อำเภอ 3,494 ตำบล 125,689 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก น่าน ตาก พะเยา ลำปาง ลำพูน เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร เลย หนองคาย นครพนม อุบลราชธานี มหาสารคาม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ บึงกาฬ อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น สุรินทร์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี ราชบุรี และนครปฐม[17]ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่จังหวัดสกลนคร ได้แก่ นายสาคร ราชบัญดิษฐ์ อายุ 39 ปี[18]

ประเทศอัฟกานิสถาน

อากาศหนาวจัดติดลบ 16 องศาเซลเซียสและมีหิมะตกหนักที่สุดใน 15 ปี และภัยหนาวตลอดหนึ่งเดือนนี้ทำให้มีเด็กเสียชีวิต 24 ราย เกิดไฟฟ้าดับและการจราจรหยุดชะงัก[19]วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. มีรายงานผู้เสียชีวิต 41 รายจากอากาศเย็นจัดในเมือง 3 แห่ง ได้แก่ คาบูล กอร์ และบาดัคชาน โดยผู้เสียชีวิตที่กรุงคาบูล มีจำนวน 24 คน ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในศูนย์อพยพหนีการสู้รบจากพื้นที่ต่างๆ ศูนย์พยากรณ์อากาศ รายงานว่า กรุงคาบูลเผชิญกับสภาพอากาศหนาวรุนแรงที่สุดและหิมะตก [20]

ประเทศอัฟกานิสถาน

สภาพอากาศแปรปรวน ยังเกิดขึ้นในแถบตะวันออกกลางและอิสราเอล โดยพื้นที่ทางตอนเหนือของอิสราเอล หิมะทับถมสูงถึง 70 เซนติเมตร จนทางการต้องประกาศหยุดเรียน ส่วนถนนก็ใช้การไม่ได้หลายสาย[21]

ปาเลสไตน์

ทั้งในเขตเวสต์แบงค์ และนครเยรูซาเล็ม ตื่นตาตื่นใจเมื่อมีหิมะโปรยปรายปกคลุมท้องถนน และบ้านเรือนขาวโพลนเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี แม้หิมะจะส่งผลทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก กระทั่งกวาดหิมะเสร็จ แต่เด็กๆ ทั้งยิว และปาเลสไตน์กลับสนุกสนานเพราะได้เล่นหิมะเต็มที่เช่นเดียวกับที่เมืองรามัลเลาะห์ในเขตเวสต์ แบงค์ ทั้งวัยรุ่น และเจ้าหน้าที่ต่างขว้างหิมะเล่นกันเต็มที่ โดยมีรายงานว่าพื้นที่นี้ไม่มีหิมะตกเลยในรอบ 4ปีที่ผ่านมา[22]

แหล่งที่มา

WikiPedia: คลื่นความเย็นในทวีปยุโรป พ.ศ. 2555 http://daily.bangkokbiznews.com/detail/44331 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.in.com/news/current-affairs/cold-snap-i... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.nationchannel.com/main/news/foreign/201... http://www.suthichaiyoon.com/detail/22499